ขิม

ขิมแต่เดิมแล้วนั้นเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นของประเทศจีนขิมเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดนนำมารวมอยู่ในวงเครื่องสายจีนซึ่งนำมาใช้ในการประกอบการแสดงงิ้ว และนำมาบรรเลงในงานเทศกาลต่าง ๆ จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 6

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของขิม

         1.ตัวขิมทำมาจากไม้เนื้อแข็งโดยคัดเลือกชนิดของไม้และอายุของเนื้อไม้ที่มีความเหมาะสม มาผึ่งให้แห้ง แล้วแปรรูปเป็นตัวขิม ขัดมันให้เรียบ อาจจะมีการทาสีหรือไม่ก็ได้ แล้วทาสารเคลือบเงาเพื่อความสวยงาม
         2.ฝาขิม ทำมาจากไม้อย่างเดียวกับที่นำมาทำตัวขิม และนำมาตัดให้ได้รูป แล้วแปรรูปเป็นฝาขิม ตกแต่งเหมือนตัวขิม
         3.สายขิมทำมาจากทองเหลืองมีลักษณะเป็นเส้นกลมยาวเส้นเล็กแต่ข้อเสียของสายทองเหลืองคือ เมื่อใช้ไปนานสายจะเริ่มมีสนิม และขาดได้ง่าย ปัจจุบันจึงนิยมใช้สายที่ทำมาจาก สแตนเลส เพราะขาดยาก มีความคงทน สามารถใช้งานได้นาน
         4. นมขิม ทำมาจากไม้ มีลักษณะเป็นไม้แบนยาวยึดติดกับตัวขิม ล่างสายขิม มีทั้งหมด 2 อัน
         5.หลักขิมเป็นโลหะที่ติดอยู่กับตัวขิมยึดสายขิมเอาไว้สามารถหมุนได้เพื่อไว้สำหรับปรับระดับเสียงของขิม
         6.ตุ๊กตาขิม จะติดอยู่กับตัวขิม จะมีรูโปร่งไว้สำหรับเสียงกระจายออก เวลาบรรเลง
         7.หย่องพาดสายขิมทำมาจากไม้มีลักษณะเป็นไม้แบนเป็นตัวรองสายก่อนที่จะไปยึดติดอยู่กับหลักขิม
         8.ไม้ตีขิมทำมาจากไม้มีลักษณะเป็นก้านแข็งและมีความยึดหยุ่นให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรงปลายไม้ตี

วิธีการบรรเลง

         วิธีการบรรเลงโดยเริ่มที่การจับไม้ตีขิม จับโดยใช้นิ้วชี้แตะตรงส่วนล่างของไม้ตีขิม และนำนิ้วหัวแม่มือมาวางตรงด้านบนของไม้ตีขิม แล้วนำนิ้วที่เหลืออีก 3 นิ้วมาจับประคองไม้ตีขิมทางด้านล่าง เมื่อเวลาจะเริ่มตีปฏิบัติโดยใช้ข้อมือ ขึ้น และ ลง ไป - มาสลับ ซ้าย และ ขวา โดยให้ลักษณะของปลายไม้จะมีการกระดก ขึ้น - ลง อยู่ภายในอุ้มมือของผู้บรรเลง เวลาบรรเลงนั่งพับเพียบหลังขิม ลำตัวและใบหน้าตรง ตามองมุมต่ำ ดังรูป

เพลงที่นิยมใช้ขิมบรรเลง

         เพลงที่นิยมบรรเลงกันมากคือเพลงขิมเล็กและเพลงขิมใหญ่ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงจีนที่เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ ได้จำทำนองการตีขิมของคนจีนแล้วมาแต่งเป็นเพลงในอัตรา 2 ชั้นได้ 2 เพลง ตั้งชื่อว่า เพลงขิมเล็กและเพลงขิมใหญ่
         สำหรับเพลงขิมเล็ก พระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขยายเป็นอัตรา 3 ชั้น ส่วนเพลงขิมใหญ่ ครูช้อย สุนทรวาทิน ได้แต่งขึ้นเป็น อัตรา 3 ชั้น เช่นกัน และทั้ง 2 เพลงนี้ ครูมนตรี ตราโมทได้แต่งตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อประมาณปี พุทธศักราช 2478 และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น